ข้อสอบแบบปรนัย60ข้อ

ข้อสอบหน้าที่พลเมือง แบบปรนัย

1.องค์กรใดเกิดจากการกระจายอำนาจ

ก.ตำบลนาดี

ข.เมืองพัทยา

ค.จังหวัดพิจิตร

ง.อำเภอหาดใหญ่

2.ความสำเร็จของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ขึ้นกับปัจจัยสำคัญข้อใดมากที่สุด

ก.การมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ

ข.การกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเหมาะสม

ค.การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวาง

ง.การกำหนดขอบเขตอำนาจของสถาบันการเมืองอย่างรัดกุม

3.ข้อใดไม่ใช่กฎหมายมหาชน

ก.รัฐธรรมนูญ

ข.กฎหมายแพ่ง

ค.กฎหมายอาญา

ง.กฎหมายปกครอง

4.วิธีการได้มาซึ่งบุคคลในตำแหน่งใดแตกต่างกันชัดเจนระหว่างประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภากับระบบประธานาธิบดี

ก.สมาชิกวุฒิสภา

ข.หัวหน้าฝ่ายบริหาร

ค.หัวหน้าฝ่ายตุลาการ

ง.สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร

5.ในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ใครคือผู้มีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญเป็นลำดับสุดท้ายก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย

ก.สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ข.สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ค.คณะความมั่นคงแห่งชาติ

ง.ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

6. บัตรประจำตัวประชาชนมีข้อมูลแสดงให้รู้เกี่ยวกับอะไร
ก. หน้าตา อายุ
ข. รูปภาพ ภูมิลำเนา
ค. หลักฐานการทำงาน อายุ
ง. อายุ ภูมิลำเนา
7. ตุลย์ต้องการตั้งชื่อสกุลใหม่ ฉะนั้นตุลย์ควรคำนึงถึงข้อใดมากที่สุด
ก. เป็นราชทินนาม

ข. เป็นบรรดาศักดิ์ที่เหมาะสม
ค. ต้องมีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ

ง. ตรวจดูจากชื่อสกุลที่จดทะเบียนไว้แล้ว
8. กิจการใดที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ด้วยตนเอง
ก. ทำพินัยกรรม

ข. ขายที่ดินของตนเอง
ค. ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ได้

ง. รับทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยไม่มีข้อผูกมัด
9. ข้อใดกล่าวถึงการหมั้นได้ถูกต้อง
ก. เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นยังเป็นสิทธิของฝ่ายชาย

ข. เมื่อเลิกสัญญาหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นของฝ่ายหญิง

ค. เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิของฝ่ายหญิง

ง. เมื่อชายคู่หมั้นตาย ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย
10. ตามกฎหมายการสมรสจะสมบูรณ์เมื่อใด
ก. มีการจัดพิธีสมรสถูกต้องตามประเพณี ข. ชายและหญิงได้จดทะเบียนสมรสกัน
ค. หญิงและชายได้กระทำการหมั้นกันไว้ก่อน ง. บิดามารดาของทั้งสองฝ่ายยินยอมให้แต่งงานกัน
11. ทายาทแบ่งเป็นประเภทตามข้อใด
ก. ญาติและคู่สมรส ข. ญาติและผู้รับพินัยกรรม
ค. ทายาทโดยธรรมและญาติ
ง. ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม
12. ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแบ่งออกเป็นประเภทตามข้อใด
ก. ญาติและคู่สมรส ข. ญาติและผู้รับพินัยกรรม
ค. ทายาทโดยธรรมและญาติ
ง. ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม
13. คำว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ” หมายความว่าอย่างไร
ก. กฎหมายใดๆ จะขัดกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
ข. รัฐธรรมนูญคือศูนย์รวมอำนาจอธิปไตยทั้ง 3
ค. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายเดียวที่ใช้ปกครองประเทศ
ง. รูปแบบการปกครองของรัฐถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
14. รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ของไทยประกาศใช้เมื่อใด
ก. 9 ธันวาคม พ.ศ. 2539
ข. 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540
ค. 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ง. 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
15. รัฐธรรมนูญจะสามารถบังคับใช้เป็นกฎหมายปกครองประเทศได้ก็ต่อเมื่อประกาศในหนังสือใด
ก. ราชกิจจานุเบกษา
ข. หนังสือพิมพ์ทุกฉบับในประเทศ
ค. หนังสือประมวลกฎหมายแผ่นดิน
ง. รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี
16. ประเทศไทยใช้กฎหมายในรูปแบบใด
ก. กฎหมายจารีตประเพณี
ข. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ค. กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ง. กฎหมายอันมีบรรทัดฐานจากคำตัดสินของศาล
17. โทษของผู้ที่กระทำความผิดทางแพ่งคือข้อใด
ก. กักขัง
ข. จำคุก
ค. ริบทรัพย์สิน
ง. ชดใช้ค่าเสียหาย
18. หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ได้แก่หน่วยงานใด
ก. คณะรัฐมนตรี
ข. สมัชชาประชาชน
ค. สภาร่างรัฐธรรมนูญ
ง. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
19. เป็นกฎหมายซึ่งรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเป็นผู้จัดทำขึ้น
จัดเป็นลักษณะของกฎหมายในข้อใด
ก. กฎกระทรวง
ข. พระราชบัญญัติ
ค. พระราชกฤษฎีกา
ง. รัฐธรรมนูญ
20. กฎหมายในข้อใดที่ใช้บังคับได้เฉพาะในท้องถิ่น ไม่สามารถบังคับใช้ได้ทั้งประเทศ
ก. กฎกระทรวง
ข. พระราชกฤษฎีกา
ค. พระราชกำหนด
ง. กฎหมายที่จัดทำโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
21. ข้อใดไม่จัดเป็นโทษทางอาญา
ก. จำคุก

ข. กักขัง
ค. คืนทรัพย์

ง. ปรับ

22. ประเทศใดที่ถือเป็นต้นกำเนิดของกฎหมายแบบจารีตประเพณี
ก. อังกฤษ ข. อเมริกา ค. เนเธอร์แลนด์ ง. สหภาพโซเวียต

23. เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปภายในกำหนดเท่าใด
ก.  45 วัน      ข.   60 วัน        ค.  90  วัน      ง.  120  วัน          จ.  150 วัน
24. หลังยุบสภาต้องเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วันนับแต่วันยุบสภานั้น
ก.  30 วัน      ข.  45 วัน         ค.  45 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน   ง. 60 วัน  จ.  90 วัน
25. วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปต้องตราเป็น ?
ก. พระราชกำหนด         ข.พระราชบัญญัติ
ค. พระราชกฤษฎีกา       ง. ประกาศพระบรมราชโองการ      จ. กฎกระทรวง

26. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเลือกตั้งแบบสัดส่วน
ก. พรรคการเมืองต้องส่งครบทุกเขตเลือกตั้ง      ข. พรรคการเมืองจะส่งเพียงบางเขตเลือกตั้งก็ได้
ค. ในแต่ละเขตเลือกตั้งจะมีจำนวน สส. เท่าใดขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในเขตเลือกตั้งนั้น
ง. พรรคการเมืองที่จะได้คะแนนน้อยกว่าร้อย 10 จะไม่นำมารวมคำนวณจำนวน สส.
จ .ถูกทุกข้อ
27. ใครไม่มีสิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
ก. กานดาแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยมาแล้ว 4 ปี
ข. สากลมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วรวม 60 วัน
ค. มนต์ชัยมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีเลือกตั้ง
ง. ไม่มีสิทธิเลือกทุกคน
28. พรรคการเมืองที่จะได้เสียงข้างมากในสภา ผู้แทนราษฎร ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดจำนวนอย่างน้อยที่สุด
ก.     201 เสียง         ข.  241 เสียง        ค.  2581  เสียง          ง.  316 เสียง
29. การประชุมครั้งแรกนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องจัดให้มีการประชุมภายในกี่วัน
ก.    7  วัน         ข.  15  วัน       ค.  30  วัน          ง.  45  วัน
30. สมาชิกวุฒิสภามีจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด
ก.  150   คน      ข.  200  คน     ค.  250  คน        ง.  300  คน
31. สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจาก
ก.  การแต่งตั้ง                   ข. การเลือกตั้ง
ค. การเลือกตั้งและสรรหา      ง. ถูกทุกข้อ
32. วุฒิสมาชิกต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ก.  25  ปี         ข.  30  ปี          ค.  35  ปี         ง.  40  ปี
33. อายุของวุฒิสมาชิกมีกำหนดคราวละกี่ปี
ก.  2  ปี         ข.  4  ปี              ค.   6  ปี         ง.  8  ปี
34. เมื่อวาระของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลงต้องกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วัน
ก.  30  วัน      ข. 45  วัน           ค.  60  วัน      ง.  90  วัน
35. สมัยประชุมสามัญ ของรัฐสภาสมัยหนึ่งๆมีกำหนดกี่วัน
ก.    60  วัน      ข.   90  วัน       ค.  120  วัน      ง.  150  วัน

36.    การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นเป้าหมายสูงสุดคือข้อใด

ก.  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

ข.  เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชน

ค.  ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

ง.  เกิดผลคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

37.    ความบริหารของการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลตามข้อใด

ก.  ความผาสุกของประชาชน

ข.  ความอยู่ดีของประชาชน

ค.  ความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน

ง.  ถูกต้องทั้งหมด

38.    ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยเอาอะไรเป็นศูนย์กลางในการบริหารกิจการ

ก.  หน่วยราชการ                                                                                ข.  ประเทศ

ค.  สังคมและชุมชน                                                          ง.  ประชาชน

39.    ในการกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการจะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสุขของประชาชนและจะสอดคล้องตามข้อใด

ก.  สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญและ ก.พ.ร.กำหนด

ข.  สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี

ค.  สอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและแนสนโยบายกระทรวง

ง.  สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ

40.  ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนนั้นส่วนราชการจะต้องต้องมีแนวทางในการบริหารราชการกี่ประการ

ก.  5 ประการ

ข.  6 ประการ

ค.  7 ประการ

ง.  8 ประการ

41.  ส่วนราชการใดที่จะต้องดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนนั้นจะต้องมีการกำหนดแนวทางการบริหารราชการตามข้อใดเป็นอันดับแรก

ก.  กำหนดภารกิจการบริหารกิจการราชการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ

ข.  จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีผลเสียให้ครบทุกด้านที่กระทบต่อประชาชน

ค.  ศึกษาปัญหาและอุปสรรคก่อนการดำเนินการแล้วปรับปรุงโดยเร็ว

ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

42.  ในทางปฏิบัติหากมีกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการให้ส่วนราชการปฏิบัติ

ตามข้อใด

ก.  แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว

ข.  แจ้งเรียนส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องได้ทราบปัญหา

ค.  แจ้ง ก.พ.ร. ให้รับทราบ

ง.  แจ้งผู้บังคับบัญชาให้แก้ไขระเบียบข้อบังคับมันโดยเร็ว

43.  ในการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐส่วนราชการจะต้องปฏิบัติภารกิจนั้นจะต้องดำเนินการตามข้อใดเป็นอันดับแรก

ก.  จัดทำแบบปฏิบัติราชการโดยมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณตลอดจน

เป้าหมายของภารกิจนั้น

ข.  รับความฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการมาศึกษาวิเคราะห์แล้ว

กำหนดภารกิจ

ค.  จัดให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามภารกิจหลักเกณฑ์และวิธีที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น

ง.  กำหนดภารกิจการบริหารราชการให้สอดคล้องกับ แนวนโยบายของรัฐ

44.  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติราชการแผ่นดิน      โดยจัดทำ เป็นแผนตามข้อใด

ก.  2 ปี                                   ข.  3 ปี                                   ค.  4 ปี                                   ง.  5 ปี

45.  หน่วยงานใดขาดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่

ก.  สำนักงบประมาณ   ข.  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ค.  ก และ ข ถูก            ง.  ถูกเฉพาะข้อ ข เท่านั้น

46.  ในการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานนั้นส่วนราชการจะทำตามข้อใด

ก.  กระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่งการอนุญาตการอนุมัติให้แก่ผู้ดำเนินการเรื่องนั้นได้โดยตรง

ข.  ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นและเพิ่มภารกิจที่บริการให้มากที่สุด

ค.  ให้ประชาชนผู้ร่วมบริการรวมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมและศูนย์บริการเพียงแห่งเดียว

ง.  ถูกทุกข้อ

47.  ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน  ส่วนราชการจะจัดให้มีตามข้อใด

ก.  กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชนได้ทราบทั่วกัน

ข.  ให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการหรือข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวข้องกับ

การปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น

ค.  ให้มีอำนาจออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศเพื่อบังคับใช้

ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

48.  ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการคือข้อใด

ก.  คณะ ก.ร.ม.      ข.  ก.พ.ร.           ค.  ก.พ.                  ง.  คณะผู้ประเมินอิสระ

49.  ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการอาจจัดให้มีการประเมินข้อใดบ้าง

ก.  ผู้บังคับบัญชา                                                                ข.  หน่วยงานในส่วนราชการ

ค.  ข้าราชการ                                                      ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

50.  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของภารกิจนี้    อย่างน้อยจะต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวข้องกับข้อใดบ้าง

ก.  การลดขั้นตอน การปฏิบัติงานและการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการ

ของประชาชน

ข.  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

ค.  เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนและไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติเกินความจำเป็น

ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

51.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า “งานสารบรรณ” ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร
ก.งานรับ-ส่งและเก็บรักษาหนังสือ              ข.งานร่าง-เขียนและพิมพ์หนังสือ
ค.งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร       ง.งานที่เกี่ยวกับงานทะเบียนเอกสาร
52.ระเบียบงานสารบรรณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ เมื่อใด
ก.1 มิถุนายน 2516                            ข.1 มิถุนายน 2526
ค.1 ตุลาคม 2526                              ง.1 ธันวาคม 2527
53.หนังสือราชการคืออะไร
ก.เอกสารทุกชนิดที่พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย      ข.เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ

ค.เอกสารที่มีไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งในราชการ      ง.เอกสารที่ทางราชการเป็นเจ้าของ
54.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก จัดเป็นหนังสือประเภทใด
ก.หนังสือภายนอก                              ข.หนังสือภายใน
ค.หนังสือประทับตรา                              ง.หนังสือประชาสัมพันธ์
55.ข้อใดต่อไปนี้อาจไม่มีในหนังสือราชการ
ก. เรื่อง                                            ข.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ
ค.คำขึ้นต้นและคำลงท้าย                          ง.อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วย
56.หนังสือภายในเป็นหนังสืออย่างไร
ก.ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน                 ข.ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
ค.ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน                    ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.
57.หนังสือภายนอกกับหนังสือภายในต่างกันในข้อใด
ก.แบบฟอร์ม                                   ข.การเก็บหนังสือ
ค.ผู้ส่งและผู้รับ                                    ง.การลงทะเบียนรับ-ส่ง
58.หนังสือทีใช้ประทับตราใช้ในกรณีใดบ้าง
ก.ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม                    ข.การเตือนเรื่องที่ค้าง
ค.ส่งสิ่งของ เอกสาร สำเนา                        ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.
59.แถลงการณ์ เป็นหนังสือประเภทใด
ก.ประทับตรา                                      ข.สั่งการ
ค.ประชาสัมพันธ์                                 ง.เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น

60. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย

ก.แถลงการณ์
ข.ข้อบังคับ
ค.คำสั่ง
ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.

ใส่ความเห็น